วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

มวยปล้ำ

 มวยปล้ำ

ประวัติความเป็นมาของมวยปล้ำ 

ช่วงสมัยของโรมันโบราณได้มีการหยิบยืมศิลปะมวยปล้ำเข้ามาจากกรีกแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวิธีการต่อสู้ที่ดุเดือดมากกว่า และในช่วงยุคกลางหรือที่เราเรียกว่าศตวรรษที่15 มวยปล้ำยังคงมีความนิยมที่แพร่หลายและเป็นสิ่งบันเทิงในหมู่ผู้สูงศักดิ์และครอบครัวของเชื้อพระวงศ์ซึ่งรวมถึงในประเทศฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ ชาวอเมริกันในช่วงเริ่มแรกได้นำวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งของมวยปล้ำเข้ามาหลังจากที่มวยปล้ำได้มีการเผยแพร่ในประเทศอังกฤษแล้ว และพบว่าชาวอเมริกันดั้งเดิมก็ชื่นชอบมวยปล้ำเป็นอย่างมาก มวยปล้ำสมัครเล่นรุ่งโรจน์ในช่วงต้นที่สหรัฐอเมริกาและเป็นกิจกรรมที่นิยมในช่วงงานรื่นเริง งานเลี้ยงฉลองวันหยุด และกีฬาของกองทัพ
การจัดการแข่งขันมวยปล้ำระดับชาติที่สหรัฐอเมริกาเริ่มต้นครั้งแรกในเมืองนิวยอร์กในปี ค.ศ. 1888 ขณะที่แชมป์กีฬามวยปล้ำในกีฬาโอลิมปิกยุคใหม่มีขึ้นในปี ค.ศ. 1904 ที่เมืองเซนต์หลุยส์รัฐมิสซูรี ในปี ค.ศ. 1912 ที่ประเทศเบลเยี่ยม แชมป์มวยปล้ำของ NCAA Wrestling มีขึ้นในปี ค.ศ. 1912 ณ รัฐไอโอวา เมืองเอมส์ มวยปล้ำสหรัฐเริ่มเป็นพื้นฐานของกีฬามวยปล้ำสมัครเล่นในปี ค.ศ. 1983 และมีการจัดลำดับขั้นในแต่ละช่วงของอายุนักแข่งขัน
มวยปล้ำยังเป็นกีฬาอันดับต้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเอเธนส์ในปี ค.ศ. 1896 ซึ่งรวมถึงการแข่งขันรูปแบบ Greco-roman โดยไม่มีการจำกัดน้ำหนักผู้เข้าแข่งขัน
ในระดับวิทยาลัย มวยปล้ำไม่ใช่เพียงแค่การต่อสู้ระหว่างกันบนเสื่อ แต่รวมถึงการต่อสู้ในแบบการหัก 45 องศา และรวมถึงการโจมทีทางด้านหลังหรือที่เรียกว่าล็อกเพื่อเก็บคะแนน
ในปี ค.ศ. 1908 มวยปล้ำแบบ Greco-roman ได้ถูกบรรจุใหม่ในกีฬาโอลิมปิก รูปแบบอิสระก็ได้ถูกบรรจุลงในกีฬาโอลิมปิกด้วยเช่นกันในปี ค.ศ. 1904
เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2001 สมาคมกีฬาโอลิมปิกสากลได้นำประเภทกีฬามวยปล้ำเพิ่มขึ้นเป็นอีกสองแบบคือ
  1. มวยปล้ำหญิงถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเมื่อปี ค.ศ. 2004 แบ่งออกเป็น 4 ประเภทน้ำหนัก
  2. ลดประเภทน้ำหนักในนักกีฬาชายลงจากอายุ 16 เป็นอายุ 14 ในประเภท Greco-roman และประเภทอิสระ   

กฏและกติกา 

กติกามวยปล้ำ

มวยปล้ำเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันมาแต่โบราณ ตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ในกีฬาโอลิมปิกจะมีการแข่งขันอยู่ 2 ประเภทคือ ฟรีสไตล์ และเกรโค-โรมัน (Greco Roman) ผู้เข้าแข่งขันจะแข่งขันกันเป็นรอบ จนกระทั่งถึงรอบสุดท้าย ซึ่งจะเหลือผู้เข้าแข่งขัน 3 คน การตัดสินจะใช้ระบบคะแนน โดยผู้ที่ถูกตัดคะแนนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
สนามแข่งขัน
สนามที่ใช้สำหรับการแข่งขันจะมีพื้นที่ 12 ตารางเมตร เขตต่อสู้จะเป็นพื้นที่ล้อมรอบด้วยวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตร และจะมีวงกลมชั้นในซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ที่มุมด้านทะแยงของสนามแข่งขันจะเป็นมุมของคู่แข่งขัน ซึ่งจะทำเครื่องหมายไว้ด้วยสีน้ำเงินด้านหนึ่ง และสีแดงอีกด้านหนึ่ง พื้นสนามอาจยกสูงขึ้นก็ได้ แต่ต้องสูงจากพื้นไม่เกิน 1.1 เมตร
เจ้าหน้าที่
ประกอบด้วย
1. กรรมการผู้ห้ามบนเวที
2. ประธานกรรมการ
3. กรรมการให้คะแนน
4. กรรมการรักษาเวลา
ประธานกรรมการ จะทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน และเป็นผู้ชี้ขาดหากมีการขัดแย้งระหว่างกรรมการผู้ตัดสิน และกรรมการให้คะแนนเกี่ยวกับผลการแข่งขัน
กรรมการผู้ห้ามบนเวที จะทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันบนเวที โดยจะสวมเสื้อสีขาวและมีปลอกแขนข้างหนึ่งเป็นสีแดงอีกข้างหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน ทำหน้าที่เริ่มและยุติการแข่งขัน และเป็นผู้ประกาศผลผู้ชนะ
กรรมการให้คะแนน ทำหน้าที่เก็บรักษาและลงคะแนนในใบให้คะแนนช่วยกรรมการผู้ตัดสินในการตัดสิน และช่วยแจ้งการทำผิดหรือการทำคะแนนได้ในกรณีที่กรรมการผู้ตัดสินมองไม่เห็น โดยยกป้ายสีแดงหรือน้ำเงินเพื่อแจ้งให้กรรมการผู้ตัดสินทราบ
การแต่งกาย
ผู้เข้าแข่งขันจะสวมชุดที่เป็นผ้าชิ้นเดียวรัดรูป คนหนึ่งสีแดงอีกคนหนึ่งสีน้ำเงิน และต้องสวมเครื่องป้องกันอวัยวะสำคัญ อนุญาตให้ใช้ปลอกเข่าได้ รองเท้าให้ใช้แบบหุ้มข้อไม่มีส้นหรือไม่มีส่วนใดทำด้วยโลหะ ห้ามทาตัวด้วยน้ำมันหรือของลื่นต้องโกนหนวดและเครา ยกเว้นหนวดเคราที่ขึ้นอยู่แล้วหลายเดือน และเล็บมือต้องตัดสั้น
การแบ่งรุ่น
แบ่งออกเป็น 10 รุ่น คือ
ตาราง
ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันแต่ละคู่ใช้เวลาการปล้ำ 3 ยก ยกละ 3 นาที นอกจากจะมีการชนะกันเกิดขึ้นก่อน ระหว่างการแข่งขัน กรรมการรักษาเวลาจะแจ้งเวลาให้ทราบทุก ๆ นาที และจะสั่นระฆังเป็นสัญญาณเมื่อหมดเวลา ซึ่งกรรมการผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณโดยการเป่านกหวีด การปล้ำหลังจากสัญญาณระฆังหรือนกหวีดดังจะไม่ถือเป็นผลการแข่งขัน ในระหว่างพักยกผู้เข้าแข่งขันอาจได้รับคำแนะนำ และการนวดตัวจากโค้ชหรือพี่เลี้ยงได้จนถึงอีก 5 นาทีก่อนระฆังสัญญาณจะดังขึ้น การแข่งขันจะยุติลงหากมีการหยุดชะงักเกิน 5 นาที
การให้คะแนน
ผู้เข้าแข่งขันที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลง หรือได้คะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ถ้าคะแนนเท่ากันหรือต่างกันน้อยกว่า 1 คะแนน จะถือว่าการแข่งขันนั้นเสมอกัน
กรรมการผู้ให้คะแนนจะต้องบันทึกคะแนนลงในแบบฟอร์มให้คะแนนตามเกณฑ์ต่อไปนี้
1. คะแนนสำหรับผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงสู่พื้น และควบคุมบนหลังคู่ต่อสู้ได้ เปลี่ยนจากท่าเสียเปรียบเบื้องล่างมาอยู่เบื้องบนได้ สามารถจับคู่ต่อสู้ได้ถูกวิธี แต่ไม่ทำให้คู่ต่อสู้ในตำแหน่งอันตราย หรือให้คะแนนแก่ผู้ที่คู่ต่อสู้ถูกทำโทษ โดยการเตือนหรือถูกตัดคะแนน
2. คะแนนสำหรับผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงจากท่ายืน และทำให้คู่ต่อสู้อยู่ในท่าอันตรายได้ไม่น้อยกว่า 5 วินาที สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงอย่างรวดเร็วหรือให้แก่ผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้ล้มกลิ้งจากไหล่ข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
3. คะแนนสำหรับผู้ที่สามารถทำให้คู่ต่อสู้อยู่ในท่าอันตรายได้นานกว่า 5 วินาที (ไหล่ทั้งสองทำมุมกับพื้นน้อยกว่า 90 องศา)
4. คะแนนสำหรับท่าทุ่มสวยงาม และสำหรับผู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้อยู่ในท่าอันตรายโดยตรงและทันทีตั้งแต่ 5 วินาทีขึ้นไป
การดำเนินการแข่งขัน
ก่อนการแข่งขันจะเริ่ม ผู้เข้าแข่งขันทั้งคู่ต้องจับมือกันกลางเวทีก่อน แล้วจึงกลับไปยืนรอที่มุมจนกว่ากรรมการผู้ตัดสินจะเป่านกหวีดเริ่มการแข่งขัน ซึ่งทั้งคูจะต้องเริ่มการปล้ำจากท่ายืน แม้ว่าในบางขณะผู้เข้าแข่งขันคนใดจะถูกจับมือล็อคลงนอนกับพื้น ถ้าหากกรรมการสั่งแยกหรือหมดยก เมื่อเริ่มปล้ำใหม่ก็จะยังคงใช้ท่ายืนอยู่เหมือนเดิม แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันผู้นั้นออกนอกเวที เขาจะต้องกลับเข้ามาเริ่มต้นแข่งขันใหม่ด้วยท่าคุกเข่า โดยผู้เข้าแข่งขันที่ออกนอกเวทีจะต้องอยู่ในท่าคุกเข่าให้มือและเข่าห่างกันอย่างน้อย 20 เซนติเมตร แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันอีกคนหนึ่งยืนและวางมือทั้งสองบนหลัง เมื่อกรรมการผู้ตัดสินเป่านกหวีดจึงจะเริ่มทำการปล้ำต่อไปได้
การแจ้งอันตราย
อันตรายจะเกิดขึ้นเมื่อมีการล้มลงเกิน 90 องศา หลังแตะพื้นเวที เช่น ถูกล็อคตัวโค้งแบบสะพาน พยายามหลบเลี่ยงจากการทำให้ล้ม โดยใช้ศอกเพื่อให้ไหล่พ้นพื้นเวที สัมผัสพื้นเวทีด้วยไหล่ข้างหนึ่ง โดยไหล่อีกข้างหนึ่งเอนผ่าน 90 องศาในแนวดิ่งกับไหลอีกข้างหนึ่ง หรือเมื่อถูกพลิกตัวคว่ำท้อง หรือออกแตะพื้นเวที กรรมการผู้ตัดสินจะนับ 1 ถึง 5 เมื่อเห็นว่าผู้เข้าแข่งขันอยู่ในท่าที่อันตราย
การทำให้ล้ม
เมื่อไหล่ทั้งสองแตะพื้นเวที และกรรมการผู้ตัดสินนับ 1 ถึง 3 โดยใช้มือตบพื้นเวทีและเป่านกหวีด จะถือว่าเกิดการทำให้ล้ม
การปล้ำที่บริเวณขอบเวที
ในระหว่างการปล้ำ ถ้าผู้เข้าแข่งขันที่ถูกจับกดอยู่เบื้องล่างยังอยู่ในเขตเวที การปล้ำจะยังคงดำเนินต่อไป การปล้ำจะหยุดเมื่อผู้เข้าแข่งขันทั้งสองออกนอกเวที (เริ่มต้นด้วยท่ายืน) ศีรษะหรือไหล่ของผู้เข้าแข่งขันที่อยู่เบื้องล่างออกนอกเวที หรือเป็นผลจากการปล้ำที่ทำให้ศีรษะของผู้เข้าแข่งขันที่อยู่เบื้องล่างแตะพื้นนอกเวที
การปล้ำแบบเกรโค-โรมัน
ใช้หลักการปล้ำแบบเดียวกับแบบฟรีสไตล์ แต่มีข้อห้ามเพิ่มเติม คือ
1. ห้ามจับหรือยึดขาคู่ต่อสู้
2. ห้ามจับ บีบ หรือรัดคู่ต่อสู้ด้วยขา
3. ห้ามใช้ขาดัน ยก หรือกดคู่ต่อสู้
การไม่ต่อสู้        จะถือว่าเกิดการไม่ต่อสู้ เมื่อ
1. ไม่สามารถหลุดจากการจับหรือยึดของคู่ต่อสู้
2. ถูกจับนอนราบกับพื้นเวทีนานพอสมควร
3. วิ่งหนีออกจากเวที หรือจับมือกับคู่ต่อสู้
การปล้ำผิดกติกา
การปล้ำผิดกติกา มีดังนี้
1. เหยียบเท่าคู่ต่อสู้
2. จับหน้าของคู่ต่อสู้บริเวณระหว่างคิ้วกับปาก
3. รวบหรือบีบคอคู่ต่อสู้
4. ใช้ศอกหรือเข่ากระทุ้งท้องคู่ต่อสู้
5. จับยึดขอบเบาะ (เวที)
6. ขัดเท้าหรือใช้เท้าเตะขาคู่ต่อสู้
7. ดึงผม เนื้อ หู อวัยวะเพศ หรือเครื่องแต่งกายของคู่ต่อสู้
8. บิดนิ้ว บิดปลายเท้า เตะ ผลัก หรือดันคู่ต่อสู้
9. ดึงหรือยึดให้เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเกิดการกระดูกหัก
10. งอแขนคู่ต่อสู้มากกว่า 90 องศา
11. ใช้มือจับหรือยึดศีรษะคู่ต่อสู้
12. ใช้ขาไขว้เพื่อหนีบจับ หรือยึดศีรษะหรือลำตัวของคู่ต่อสู้
13. พูดกับคู่ต่อสู้ระหว่างการแข่งขัน
14. ดึงแขนคู่ต่อสู้ให้ไขว้มาทางด้านหลัง
15. ใช้แขนและต้นแขนบีบหรือรัดคู่ต่อสู้
16. ยกคู่ต่อสู้ขึ้นทุ่มจากท่าสะพานโค้ง
17. เข้าเกี่ยวยึดคู่ต่อสู้จากด้านหลังในท่ายืนเตรียม หรือคู่ต่อสู้ก้มศีรษะลง
18. ท่ายึดศีรษะคู่ (ดับเบิลเนลสัน) ทำได้ แต่ต้องเข้ายึดจากด้านข้างและต้องไม่ใช้ขาปะทะคู่ต่อสู้
การตัดคะแนน
ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดคะแนน เมื่อ
1. ไม่ยอมเข้าปล้ำหลังจากถูกเตือนแล้ว
2. ขาดระเบียบวินัย
3. ทำผิดกติกา
4. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของกรรมการหลังจากถูกเตือนแล้ว 2 ครั้ง
5. เถียงกรรมการให้คะแนน หรือประธานกรรมการ
6. ไม่พยายามต่อสู้หรือทำคะแนนใน 3 นาทีแรก
7. เมื่อถูกกรรมการเตือนแล้วยกมือขึ้นเพียงข้างเดียว แต่อีกข้างหนึ่งยังจับหรือยึดคู่ต่อสู้อยู่ ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเตือนถึง 3 ครั้ง จะต้องออกจากการแข่งขัน
การคัดออก
ผู้เข้าแข่งขันจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน เมื่อถูกแจ้งคะแนนโทษถึง 6 คะแนน การคัดออกจะดำเนินต่อไปจนเหลือผู้ถูกแจ้งคะแนนโทษต่ำกว่า 6 คะแนน จำนวน 3 คน
การปรับแพ้
ผู้เข้าแข่งขันอาจถูกปรับแพ้ ถ้าปล้ำด้วยความรุนแรงและอันตราย แม้ว่าจะไม่ถูกเตือนถึง 3 ครั้งก็ตาม
การแข่งขันรอบสุดท้าย
จะคัดเลือกจนเหลือผู้เข้าแข่งขันในรอบสุดท้าย 3 คน ซึ่งจะแข่งแบบพบกันหมด โดยผู้เข้าแข่งขันคู่ใดยังไม่เคยแข่งขันกันเลย จะต้องทำการแข่งขัน แต่ถ้าหากเคยแข่งขันกันแล้วก็ไม่ต้องแข่งอีก ให้นำคะแนนลงโทษที่เกิดจากการแข่งขันหนที่แล้วมาใช้ในการพิจารณาตัดสิน
ผลการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันที่เสียคะแนนลงโทษน้อยที่สุดคือผู้ชนะ ถ้าผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมีคะแนนลงโทษเท่ากัน ผู้ชนะคือผู้ที่สามารถล้มคู่ต่อสู้ได้ และหากมี 3 คนที่คะแนนลงโทษเท่ากัน (ทั้งในรอบสุดท้ายและรอบคัดเลือก) จะตัดสินจากจำนวนการทำล้มการชนะคะแนน การจับคู่เปรียบเทียบ ถ้ายังเสมอกันอยู่ให้ผู้ถูกตัดคะแนนน้อยที่สุดในการแข่งรอบสุดท้ายเป็นผู้ชนะ และหากยังคงเสมอกันอีกให้ตัดสินเป็นเสมอกัน
คะแนนลงโทษ และผลการแข่งขัน
0 ชนะโดยการทำล้ม
0 ชนะ 12 คะแนน หรือมากกว่า
ชนะระหว่าง 8-11 คะแนน
1 ชนะน้อยกว่า 8 คะแนน
3 แพ้คะแนนน้อยกว่า 8 คะแนน
3 แพ้จากการทำล้ม
3 แพ้คะแนนระหว่าง 8-11 คะแนน
4 แพ้คะแนน 12 คะแนนขึ้นไป
4 แพ้เนื่องจากการไม่พยายามต่อสู้
0 ชนะเนื่องจากคู่แข่งขันไม่พยายามต่อสู้ และผู้ชนะไม่ถูกกรรมการเตือน
1 ชนะเนื่องจากคู่แข่งขันไม่พยายามต่อสู้ และผู้ชนะถูกเตือน 1 ครั้ง
2 ชนะเนื่องจากคู่แข่งขันไม่พยายามต่อสู้ และผู้ชนะถูกเตือน 2 ครั้ง
4 ออกจากการแข่งขันเนื่องจากการบาดเจ็บ

ประเภทของกีฬามวยปล้ำ 

1. มวยปล้ำอาชีพ 
2. WWE 
3. WCW 
4. TNA wrestling 

ภาพจากกีฬามวยปล้ำ 

 

คลิปจากกีฬามวยปล้ำ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น